
“งานวิศวกรรมต้องทำงานด้วยมาตรฐานและอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย”
– คุณ ศรัณย์ ขาวพุ่ม Design Engineering ระบบดับเพลิง ปรับอากาศและสุขาภิบาล
จากนักศึกษาหนุ่มวิศวกรเครื่องกล ที่เลือกเรียนวิชาเลือกเสรีเกี่ยวกับระบบดับเพลิง วันนี้เขาได้มาเป็นหนึ่งในทีมวิศวกรรมระบบดับเพลิงของ Harn โดยรับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบดับเพลิงให้กับลูกค้ามากมาย
ในบทความนี้คุณศรัณย์ จะมาแชร์ประสบการณ์ทำงานในสายงานออกแบบระบบดับเพลิง ว่าเริ่มต้นมาได้อย่างไร และสิ่งสำคัญที่วิศวกรผู้ออกแบบระบบดับเพลิงควรมีคืออะไรบ้าง
จากวิศวกรเครื่องกลสู่วิศวกรระบบดับเพลิง
“ช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย วิชาเลือกเกี่ยวกับระบบดับเพลิงในตอนนั้นมีคนสนใจน้อยมาก ในหมู่คนเรียนวิศวะ 400-500 คน คลาสนี้มีเพื่อนร่วมคลาสไม่ถึง 40-50 คน” จึงทำให้เกินความสนใจในการเลือกเรียนในสายวิชานี้
อาจจะเพราะว่า เนื่องจากในช่วงนั้นระบบดับเพลิงไม่ได้เป็นสิ่งที่นิยมกันมากนัก รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดับเพลิงก็ยังมีอยู่น้อย ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกเรียนในสายอื่นๆ กันมากกว่า
จากการเรียนระบบท่อสู่การต่อยอดสู่ระบบดับเพลิง
ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบดับเพลิงได้คุณศรัณย์ ต้องผ่านการเรียนเรื่อง ระบบท่อในอาคาร (Piping System) ก่อน ซึ่งเป็นการเรียนเกี่ยวกับการวางท่อระบบต่างๆ ในอาคาร
“ในแต่ละอาคารมีระบบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของคนที่อยู่ภายใน”
สิ่งสำคัญสำหรับการวางระบบท่อต่างๆ ต้องคำนึง การคำนวณแรงดัน ขนาดท่อที่เหมาะสมกับสภาพอาคาร รวมถึงหลักกฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ ด้วย
การติดตั้งระบบท่อในอาคารต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมโดยวิศวกรก่อน ซึ่งถ้าติดตั้งไปโดยที่ไม่ได้ออกแบบระบบมาก่อน ผลที่ตามมาจะทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารได้มากมาย เช่น ท่อน้ำในอาคาร ถ้าไม่ได้คำนวณแรงดันน้ำหรือการติดตั้งที่เหมาะสม เมื่อเกิดปัญหาน้ำซึมออกจากตัวท่อ ก็จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างอาคารได้
ในส่วนของวิชาระบบดับเพลิงมีระบบท่อเป็นส่วนประกอบสำคัญและยังเจาะจงรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายด้านระบบดับเพลิง รวมถึงลักษณะการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมต่อพื้นที่ในอาคาร
เข้าเป็นวิศวกรระบบดับเพลิงกับ Harn
หลังจากเรียนจบใหม่ทางบริษัท Harn ก็ได้เปิดโอกาสให้เข้ามาเริ่มทำงานเป็นที่แรก ได้เข้ามาทำในตำแหน่ง Design Engineering ฝั่งออกแบบระบบ โดยที่จะทำงานออกแบบระบบให้ตรงตามความต้องการของทั้งลูกค้า หลักการออกแบบ และความถูกต้องตามหลักกฎหมาย
“ในการทำงานเราต้องหมั่นศึกษาเพิ่ม หาความรู้เพิ่ม ซึ่งของผมก็ต้องมานั่งอ่านหนังสือเกี่ยวกับดีไซน์เพิ่มเติมหรือสอบถามจากพี่ ถนอมศักดิ์ พี่ซึ่งคอนเทรนงานและสอนงาน พร้อมทั้งให้ความรู้เพิ่มเติมจากที่เรียนมา”
หนังสือที่จำเป็นต้องศึกษาเมื่อเริ่มงานดีไซน์
หนังสือที่จำเป็นหลักๆในการศึกษาคือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายหรือมาตราฐานการออกแบบของระบบดับเพลิง ที่เป็นที่รู้จักกันก็จะเป็น NFPA : National Fire Protection Association มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย ของ วศท. โดยเนื้อหาด้านในเกี่ยวกับมาตรฐานระบบดับเพลิงสากลที่ได้รับความนิยมมาก
โดยเนื้อหาในหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบระบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งจากเนื้อหาจะทำให้เรา สามารถเอามาคำนวณค่าในการเลือกหัวดับเพลิงสปริงเกอร์ หรือเลือกอุปกรณ์ดับเพลิงอื่นได้ด้วยตัวเอง
เมื่อฝึกฝนไปเรื่อยๆพร้อมกับการได้รับคำแนะนำจากคุณถนอมศักดิ์ แล้ว ก็เริ่มชำนาญในการออกแบบระบบดับเพลิงในอาคารมากขึ้น จนได้เป็นผู้ออกแบบให้กับลูกค้าในหลายๆงาน
การเป็น Design engineering นอกจากออกแบบระบบให้มีต้นทุนน้อย แล้วยังต้องคำนึงถึงข้อมูลรับรองได้ซึ่งมาจากการศึกษามาตรฐานต่างๆ และสำคัญที่สุดคือต้องถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในระหว่างการออกแบบ ได้แก่
– ที่มาที่ไปของการติดตั้ง
– ได้รับการคำนวณแรงดันแล้วหรือไม่
– ดีไซน์ถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่
ออกแบบให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
การออกแบบระดับเพลิงเราจะทำตามข้อกฎหมายและมาตรฐานของ NFPA : national fire protection association อยู่แล้ว แต่ในข้อกำหนดเหล่านั้นคือพื้นฐานของงานออกแบบระบบดับเพลิง
สิ่งต่อไปคือเราต้องนำมาคำนวณและคิดต่อว่าระบบดับเพลิงที่เรากำลังจะทำให้ลูกค้านั้น เหมาะสมกับพื้นที่ติดตั้งหรือไม่ เป็นคอนโด อาคารสำนักงาน โรงงาน คลังน้ำมัน พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน แต่ละสถานที่แม้ว่าจะเริ่มต้นจากพื้นฐานเดียวกัน แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การออกแบบแตกต่างกัน
ซึ่งมาตรฐานที่เป็นสากลของ NFPA จะรับรองความปลอดภัยได้หลากหลาย รวมถึงประกันของการเกิดเพลิงไหม้ในปัจจุบันที่จะดูตามมาตรฐานสากลเป็นหลัก
อะไรบ้างที่วิศวกรระบบดับเพลิงต้องออกแบบ?
- ตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง
- ระบบสปริงเกอร์
- อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ระบบตรวจจับเพลิงไหม้
อุปสรรคของงานวิศวกรระบบดับเพลิง
“ออกแบบงานระบบดับเพลิงไม่ใช่สิ่งที่ยาก แต่ที่ยากคือต้นทุน” คุณศรัณย์อธิบาย
ลูกค้าหรือเจ้าของอาคารหลายที่ให้ความสำคัญกับระบบดับเพลิงเป็นอันดับท้ายๆ ทั้งพยายามลดต้นทุน พยายามลดสเปคอุปกรณ์ที่ติดตั้ง จนทำให้ระบบที่เราวางเป็นมาตรฐานมานั้น กลายเป็นระบบที่ไม่ได้มาตรฐาน
ซึ่งหากอย่างนั้นทางวิศวกรของเราก็จะไม่เซ็นรับรองมาตรฐานให้เนื่องจากระบบไม่ได้ตามแบบที่เราติดตั้งจริง ผิดทั้งข้อกฎหมายและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาคาร
“สิ่งที่เราทำได้คือชี้ให้ลูกค้าได้เห็นความสำคัญของระบบที่เราวางเอาไว้ ว่าเราวางแผนมาตามมาตรฐานของ NFPA เราเอาเข้าโปรแกรมวางแผนระบบจนได้เป็นระบบที่เหมาะกับอาคารของพวกเขาที่สุดแล้ว”
สรุปบทความ
สุดท้ายนี้ฝากเอาไว้ถึงการเป็นวิศวกรอาชีพว่าสิ่งสำคัญที่พวกเราต้องคำนึงถึงคือมาตรฐานและความถูกต้องตามหลักกฎหมาย การเลือกอุปกรณ์ดับเพลิงที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองเป็นหลัก
ระบบดับเพลิงจาก Harn เรามีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาด้านการวางแผนระบบดับเพลิงมาตรฐานสากล และเลือกอุปกรณ์ดับเพลิงที่มีมาตรฐาน หากคุณสนใจวางแผน ติดตั้งระบบดับเพลิง ติดต่อเราได้ที่นี่
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์